Shopping cart

      ในช่วงใกล้สิ้นปีแบบนี้ คนทำงานหลายคนส่วนใหญ่มักที่จะวางแผนใช้วันลาพักร้อน Work From Home ในการไปเที่ยว แต่งานของเราก็แน่นสุด ๆ เหมือนกัน หากจะทิ้งงานไปเที่ยวก็คงทำงานไม่ทัน ถ้าฝืนต่อไปร่างกายคงบอกเราว่าตอนนี้ก็ไม่ไหวแล้วนะ จากการทำงานหนัก อยู่กับบรรยากาศเดิม ๆ ส่งผลให้เกิดภาวะ Burnout Syndrome หรือการหมดไฟในการทำงาน ทำให้หลายคนไม่อยากลุกจากที่นอนขึ้นมาทำงาน

      หากใครเจอปัญหาแบบนี้อยู่ ช่วงวันหยุดเยอะ ๆ เราก็สามารถไปเที่ยวพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศในชีวิต แต่ก็ได้งานเหมือนอยู่บ้าน หรืออยู่ออฟฟิศ หรือที่คนรุ่นใหม่เรียกกันว่า ‘Workcation’ มาดูกันดีกว่า การเที่ยวไปด้วย และทำงานพร้อม ๆ กัน จะช่วยฟื้นฟูร่างกาย และจิตใจให้เราได้มากแค่ไหน ในวันที่หลายคนเริ่มประสบปัญหา แยกเรื่องงานกับชีวิตส่วนตัวไม่ออก

 

 

Workation หรือ Workcation คือ รูปแบบการทำงานที่ทำงานไปด้วย เที่ยวไปด้วย เป็นรูปแบบการทำงานที่เลือกได้ว่าจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ โดยมาจากคำว่า WORK (ทำงาน) + VACATION (ท่องเที่ยว)

Workation มีข้อดีสำหรับพนักงานมากมาย เช่น การเปลี่ยนบรรยากาศช่วยสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ และไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ลดระดับความเครียด และจัดสรรเวลาทำงานได้อย่างอิสระ

 

4 วิธีจัดการ Workation อย่างไร? ไม่ให้ Work Life Balance เสีย

1. แพลนงานให้ดีก่อนเริ่มไป Workation

ก่อนออกเดินทางไป Workation ควรหาทางจัดการงานที่ยังค้างคาให้เรียบร้อย หากมีสมาชิกในทีมลองฝากงานให้เพื่อน ๆ ช่วยกันดูแล แต่ไม่ควรเอาภาระงานของเราไปให้คนอื่นทั้งหมด ให้กระจายงานไปที่เพื่อนประมาณ 30% ก็พอ ส่วนเรายังต้องรับผิดชอบ 70% ของจำนวนงานทั้งหมด เพื่อน ๆ จะได้ทำงานในส่วนนี้อย่างไม่ลำบากใจ ส่วนงานที่ต้องพึ่งทักษะของเราก็ควรเตรียมตัวให้ดีว่า ต้องพกอุปกรณ์ช่วยทำงานมากน้อยแค่ไหน เพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคระหว่างที่ไป Workation ส่วนนอกเวลาทำงานอย่าลืมตั้งระบบตอบกลับอีเมลอัตโนมัติ แจ้งรายละเอียดการพักร้อนของเรา เพื่อให้คนติดตามงานรู้ว่าจะติดต่องานได้ตอนไหน และช่องทางใด จะได้ไม่รบกวนเราขณะพักผ่อน แล้วการเปลี่ยนพื้นที่การทำงานของเราครั้งนี้ คงช่วยเติมไฟให้ชีวิตการทำงานกลับมาอีกครั้ง

 

2. กำหนดเวลาทำงานแบบชัดเจน

จุดประสงค์การไป Workation ก็คือไปทำงานแต่ได้ฟิลพักผ่อน ดังนั้นกิจกรรมของเราต้องวางแพลนให้ดี กำหนดไปเลยเราจะทำงานกี่ชั่วโมงต่อวัน และชั่วโมงที่เราทำต้องทำแบบจริงจังด้วยนะ เหมือนว่าเรานั่งทำงานที่ออฟฟิศนั่นแหละ และพยายามทำงานไม่เกินชั่วโมงที่เรากำหนดไว้ หากหมดเวลาการทำงาน หากยังมีงาน หรือโปรเจกต์อะไรที่ยังไม่เสร็จ ให้เบรกโดยทันที แล้วไปใช้ชีวิตพักผ่อน ท่องเที่ยว หาอาหารอร่อย ๆ เติมพลังชีวิต ส่วนงานก็มาเริ่มทำต่อในวันถัดไป พยายามแบ่งเวลาการทำงาน และเวลาพักผ่อนให้เท่า ๆ กันแบบนี้งานก็ได้ไม่โดนบ่น ชีวิตส่วนตัวก็ได้ผ่อนคลาย

จด To do list สิ่งที่ต้องทำให้ครบ

 

3. จด To do list สิ่งที่ต้องทำให้ครบ

เนื่องจากการไป Workation ทำให้เราไม่ได้สามารถพกงานไปทำได้เหมือนการนั่งทำงานที่บ้าน หรือที่ออฟฟิศ การจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำจะช่วยให้งานของเราทำเสร็จได้แบบมีประสิทธิภาพ เช่น การลิสต์งานที่สามารถทำนอกสถานที่ได้ แล้วในแต่ละวันเราก็เร่งเคลียร์งานให้เสร็จตามเช็กลิสต์ของเรา เมื่อลิสต์รายการที่ต้องทำเสร็จแล้วมาจัดลำดับความสำคัญของงาน ถ้าเป็นงานด่วนให้เราทำไฮไลท์สีข้อความเอาไว้ แล้วรีบจัดการให้เสร็จก่อน และงานไหนสำคัญแต่ไม่เร่งด่วนมาก จดเอาไว้ใน To do list พร้อมวางแผนให้ดีว่าจะทำให้เสร็จเมื่อไหร่ แบบนี้เราก็สามารถบริหารงานได้ดีแม้เป็นการทำงานแบบ Workation ส่วนนอกเวลาทำงาน เราก็ไม่ควรพลาดที่จะจดสิ่งที่เราอยากทำด้วย เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่อยากไป หรือกิจกรรมท่องเที่ยวไหนที่ห้ามพลาด ร้านอาหารไหนที่ต้องไปลอง หรือจุดถ่ายรูปที่ต้องเช็กอิน งานหลัก หรือชีวิตส่วนตัว การจด To do list จะช่วยให้การ Workation ครั้งนี้ดีต่อใจสุด ๆ

หยุดตอบไลน์กรุ๊ปทำงาน ตอนพักผ่อน

 

4. หยุดตอบไลน์กรุ๊ปทำงาน ตอนพักผ่อน

ถ้าเวลาทั้งหมดต้องคอยตอบไลน์กลุ่มทำงานทั้งวัน การไป Workation คงไร้ความหมาย หากเพื่อน ๆ ยังตอบแชท หรืออีเมลอยู่ตลอดเวลา ช่วงเวลาที่เราทำงานให้ตอบได้ แต่เลิกงานปุ๊บ ให้กดปิดการแจ้งเตือนไว้ทันที เพื่อไม่ให้มีข้อความอะไรมารบกวนสมาธิ ตอนกำลังพักผ่อน และหากจิตใจเราว้าวุ่นมาก ๆ ถึงแม้ปิดการแจ้งเตือนแล้ว เผลอเข้าไปดูบ่อย ๆ มันอาจส่งผลให้เราเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคเครียดได้ง่าย ๆ เข้าใจว่างานก็สำคัญแต่ช่วงเวลาพักผ่อน เราต้องจริงจังด้วย ในเวลาส่วนตัวลองตัดขาดจากโลกภายนอกบ้าง แล้วชีวิตจะมีความสุขขึ้นอีกเยอะ

 

 

ข้อดีและข้อเสียของ Workation

ข้อดีของ Workation

  • การเปลี่ยนบรรยากาศในการทำงานช่วยสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ และไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
  • มองเห็นงานในอีกมุมมองซึ่งจะช่วยให้พัฒนาปรับปรุงงานตัวเองให้ดีขึ้น
  • ช่วยลดระดับความเครียดโดยไม่ต้องลางาน
  • จัดสรรเวลาทำงานได้อย่างอิสระ
  • สามารถพบปะผู้คนใหม่ ๆ ที่ทำงานในลักษณะ ตำแหน่ง หรือรูปแบบคล้าย ๆ เพื่อเรียนรู้และปรึกษาซึ่งกันและกัน
  • ได้พบวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
  • ประสบการณ์การเดินทางจะทำให้เติบโตในชีวิตส่วนตัว
  • มีผลงานวิจัยมากมายที่บอกว่า การทำงานทางไกลช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานได้
  • หากพนักงาน Workcation ด้วยกันเป็นหมู่คณะ ก็จะสร้างทีมสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นได้
  • เป็นแรงจูงใจชั้นดีในการดึงดูดผู้สมัครงานใหม่และรักษาพนักงานเดิมในการอยู่ต่อกับองค์กรของเรา

ข้อเสียของ Workation

  • ไม่ใช่ทุกงาน ทุกตำแหน่งที่สามารถ Workation ได้ โดยเฉพาะงานบริการและงานที่ต้องใช้กำลัง
  • อาจไม่เหมาะสำหรับบางคน โดยเฉพาะคนที่ต้องการสมาธิในการทำงานแบบไม่มีสิ่งรบกวน
  • มีค่ายใช้จ่ายในการเดินทาง รวมไปถึงความต้องการทางเทคโนโลยี เช่น สัญญาอินเทอร์เน็ตไวไฟ, คอมพิวเตอร์แลปท็อป หรือแม้กระทั่งวีซ่าหากจะเดินทางไป Workation ต่างประเทศก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน
  • การติดต่อสื่อสารลำบากหากไม่มีเทคโนโลยีรองรับ โดยเฉพาะการประชุมออนไลน์ที่มักจะสร้างปัญหามากกว่าประสบผลสำเร็จ
  • การทำงานอาจทำลายความรู้สึกพักผ่อน จนไม่สามารถผ่อนคลายหรือสนุกกับ Workcation ได้อย่างเต็มที่  ฉะนั้นหากแบ่งเวลาการทำงานไม่ได้ ก็จะสูญเสียเวลาอันมีค่านี้ไป

 

Workcation หรือการทำงานไปด้วย เที่ยวไปด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ในโลกการทำงาน ที่ทุก ๆ องค์กรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นเครื่องมือที่สร้างทีมสัมพันธ์และรักษาพนักงานคนเก่งให้ยังอยู่กับองค์กรของเราได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ถึงแม้ในประเทศไทยจะยังเป็นเทรนด์ใหม่ แต่ต่างประเทศเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติกันแล้ว

 

 

ที่มา: th.hrnote.asia

ใส่ความเห็น

พฤศจิกายน 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930  
X