ปัจจุบันมีโรคที่เกี่ยวกับตับ ไต เยอะมาก โดยเฉพาะโรคตับอักเสบ หรือมะเร็งตับ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย จนหลายคนเป็นกังวล และจะทำอย่างไร ให้ตับของเราสุขภาพดี มีอายุยืนยาว และไม่เสี่ยงกับการเป็นมะเร็งและไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการเลือกทานอาหารบำรุง ตับ ไต ให้ถูกต้องก็มีส่วนสำคัญ การเลือกทานอาหารให้ถูกต้อง คืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพราะฉะนั้นอาหารประเภทใดบ้างที่จะเป็นอาหารบำรุง ตับ ไต ที่จะทำให้ร่างกายของเราสุขภาพดี และมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคลดลง ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
อาหารบำรุง ตับ ไต คืออะไร?
คือ อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ปรุงสุขสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน
หน้าที่ของตับ
‘ตับ’ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่เผาผลาญสารอาหาร ควบคุมการใช้สารอาหารต่างๆ ตามความต้องการของร่างกาย เช่น ควบคุมน้ำตาลกลูโคสและโปรตีนในร่างกาย, ควบคุมน้ำดี เพื่อใช้ในการย่อยไขมัน, ควบคุมสารอาหารประเภทไขมัน เช่น คอเลสเตอรอล,ไตรกลีเซอไรด์ และ ไลโปโปรตีน เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นแหล่งเก็บ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ นอกจากนี้หน้าที่ ที่สำคัญที่สุดของตับอีกหน้าที่หนึ่ง คือ การกำจัดของเสีย โลหะหนัก ยา และสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย ซึ่งการที่ตับมีหน้าที่เช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าตับจะเป็นอวัยวะที่สามารถทนต่อสารพิษต่างๆ ได้ตลอดไป ซึ่งหากตับได้รับสารพิษเป็นเวลานานๆ ก็จะสามารถเสียหายได้อย่างถาวรเช่นกัน และช่องทางที่จะรับสารพิษมาทำลายตับมากที่สุด คือ ‘ทางปาก’
หน้าที่ของไต
‘ไต’ ทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องกรองของเสียโดยขับออกมาเป็นปัสสาวะ ซึ่งรายละเอียดการทำงานของไตมีดังนี้
หน้าที่หลักของไต คือ
- การขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกาย ถ้าไตเสื่อมหรือทำงานได้ไม่ดีจะทำให้ของเสียเหล่านี้สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเกิดปัญหา
- กระตุ้นการทำงานของวิตามินดี ไตมีหน้าที่กระตุ้นวิตามินดีให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิตามินดีนี้เองจะช่วยให้ร่างกายดูซึมแคลเซียมไปใช้ได้ดีขึ้นด้วย และวิตามินดียังช่วยควบคุมการขับถ่ายแคลเซียมออกจากไต และควบคุมการสะสมแคลเซียมในกระดูก
- กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอิริโทโพอิติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้ร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ทั้งยังช่วยลดโอกาสเกิดภาวะโลหิตจาง
- สร้างสารเรนิน ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่หลั่งจากไตเข้าไปในกระแสเลือด ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่ สามารถนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้เพียงพอ
อาหารบำรุงตับ
- เนื้อสัตว์สด เนื้อสัตว์ทุกชนิด มีกรดอะมิโน โปรตีนที่ครบถ้วนมีประโยชน์ต่อตับ แต่ควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุขสะอาด หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ กึ่งสุข กึ่งดิบ โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ทะเล หากรับประทานแบบดิบๆ นั้น จะมีความเสี่ยงในการเจือปนสารตะกั่ว และสารพิษต่างๆ ที่มาจากทะเลได้ ซึ่งจะมีผลเสียต่อตับโดยตรง
- ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ซึ่งจะมีสารโอเมก้า3 เป็นไขมันดี ที่ช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยให้ค่าตับดีขึ้น
- ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ส้ม มะขามป้อม มะละกอ กีวี่ เป็นต้น ซึ่งผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง มีฤทธิ์ ช่วยลดการอักเสบและส่งเสริมการทำงานของตับให้ดีขึ้น
- ธัญพืช ข้าวกล้อง ข้างไรซ์เบอรี่ ถั่วแดง ถัวเขียว เป็นต้น ซึ่งธัญพืชต่างๆ เหล่านี้มีไฟเบอร์สูง มีส่วนช่วยในการลดการดูดซึมไขมัน ลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
- บล็อกโคลี่ เป็นผักที่มีดีท็อกซิฟิเคชั่นเอนไซม์ช่วยในการกำจัดสารพิษในร่างกาย ช่วยลดเซลล์ตับถูกทำลาย ผลของค่าตับดีขึ้น และเนื่องจากบล็อกโคลี่เป็นอาหารที่มีกากใย ก็จะช่วยเรื่องของระบบขับถ่าย และเป็นอาหารที่มีวิตามินที่ดีที่ร่างกายต้องการ
- ชา แบบไม่ผสมนม ผสมน้ำตาล สามารถทานได้ทั้งชาจีน ชาดำ หรือชาเขียว โดยผลการวิจัยระบุว่าการทางชาเป็นประจำ จะทำให้ผลเลือดของตับดีขึ้น การที่ตับถูกทำลายน้อยลง ข้อแนะนำในการทาน : ควรทานอย่างเหมาะสม วันละ 2-4 แก้ว แต่ไม่ควรทานทั้งชาและกาแฟในวันเดียวกัน
- พืชตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ราสเบอร์รี่ สตอเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ กูสเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่ เป็นต้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่สูงมาก นอกจากบำรุงตับแล้ว ยังช่วยในการบำรุงสายตา และบำรุงสมอง ช่วยป้องกันความเสี่ยมของเซลล์ตับ และทำให้ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลดลง
- องุ่น และเมล็ดองุ่น หรือผลิตภัณฑ์จากองุ่นที่สกัดออกมาเป็นยา จะช่วยให้ตับทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์ตับ เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยให้ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลดลง ทำให้ไขมันพอกตับ หรืออาการของตับอักเสบทุเลาลง หากทานในรูปแบบของผลไม้ ต้องทานอย่างเหมาะสม เนื่องจากองุ่นเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
- น้ำมันชนิด MUFA สูง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า มีส่วนช่วยในการลดไขมันตัวร้าย ( LDL) และเพิ่มไขมันตัวดี (HDL) ซึ่ง HDL นั้นเป็นไขมันชนิดดีที่ช่วยกำจัดไขมันชนิดร้ายออกจากร่างกาย ช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
อาหารบำรุงไต
- น้ำเปล่า เราควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6-8 แก้ว เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นตัวช่วยกรองสารพิษจากเลือดและขับสารพิษออกทางปัสสาวะ ทว่าหากมีอาการโรคไตอยู่แล้ว และมีอาการบวมน้ำ ควรบริโภคน้ำตามความเหมาะสม เช่น 3-4 แก้วต่อวัน เพราะความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะลดลง ซึ่งปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันก็ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้นะคะ
- ปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยลดการอักเสบ และสาร DHA ในกรดไขมันโอเมก้า 3 ยังมีคุณสมบัติช่วยลดคอเรสเตอรอล ลดไขมันเลว (LDL) ที่สะสมในหลอดเลือด สอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิโรคไตแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดความดันโลหิตได้ ซึ่งการมีความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดโรคไต ดังนั้นควรรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับดีเพื่อช่วยปกป้องสุขภาพไตอีกทาง นอกจากนี้ปลาทะเลยังเป็นเนื้อสัตว์ที่มีฟอสฟอรัสต่ำกว่าปลาชนิดอื่น ๆ จึงไม่เพิ่มภาระให้ไตด้วยนะคะ
- อกไก่ไร้หนัง การรับประทานโปรตีนคุณภาพดีจะช่วยให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีของเสียตกค้างในไตน้อย เป็นการช่วยลดภาระการทำงานให้ไต และถ้าพูดถึงโปรตีนคุณภาพดีต้องมีอกไก่ไร้หนังอยู่ในลิสต์นั้นด้วย โดยเนื้ออกไก่ล้วนอุดมไปด้วยโปรตีนลีน ๆ มีฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียมต่ำกว่าเนื้อไก่ติดหนัง และเป็นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำด้วยนะ
- ไข่ขาว นอกจากอกไก่ที่มีโปรตีนคุณภาพดีแล้ว ไข่ขาวก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนอัลบูมิน ที่เป็นโปรตีนคุณภาพสูงเช่นกัน ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากเกือบ 100% และยังย่อยง่าย ที่สำคัญในไข่ขาวมีฟอสฟอรัสน้อยกว่าไข่แดงมาก แถมยังเปี่ยมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย
- ไขมันดี ไขมันที่ดีต่อสุขภาพไต คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) ซึ่งหาได้จากน้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น เพราะไขมันชนิดดีเหล่านี้มีกรดไขมันโอเลอิก (Oleic) ที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบต่าง ๆ และยังเป็นไขมันที่ปราศจากฟอสฟอรัส ผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดสูงก็รับประทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม
- ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่มีสรรพคุณบำรุงไต บำรุงตับ และจัดเป็นยาอายุวัฒนะตามศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยลูกเดือยมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้าง ลดอาการบวมน้ำ และมีสารสำคัญชื่อว่า สารคอกซีโนไลด์ (Coxenolide) ซึ่งมีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก และอาจลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้
- เห็ดชิตาเกะ เห็ดมีโปรตีนสูง แต่เห็ดที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ #saveไต เราแนะนำเป็นเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ เพราะนอกจากโปรตีนที่ได้จากเห็ดชนิดนี้แล้ว ยังจะได้ไฟเบอร์วิตามินบี แมงกานีส คอปเปอร์ เซเลเนียม และเบต้ากลูแคน ที่เป็นสารช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รวมทั้งไต ทั้งยังมีสรรพคุณป้องกันโรคมะเร็งได้
- ผัก ผลไม้ บางชนิดก็มีโพแทสเซียมสูง ฟอสฟอรัสสูง หรือมีกรดยูริกที่หากรับประทานมาก ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคไตได้ ดังนั้นหากคิดว่าตัวเองมีความเสี่ยงโรคไตค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ก็ควรเลือกกินผลไม้ที่ปลอดภัยต่อไต เช่น กะหล่ำปลี บวบ แตงกวา กระเทียม หอมหัวใหญ่ พริกหวาน สับปะรด บลูเบอร์รี แครนเบอร์รี องุ่นแดง แอปเปิล เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี
อาหารทำลาย ตับ ไต
- แอลกอร์ฮอร์ : เป็นสารที่ถูกดูดซึม และ ทำลายที่ตับโดยตรง หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ตับถูกทำลายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตับแข็งได้
- วิตตามิน A : หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป ทำให้เกิดพิษทำลายตับได้
- อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป : อาหารแปรรูปต่างๆจะต้องใส่สารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติ และเพื่อให้อาหารอยู่ได้นานขึ้น เช่น สารไนเตรท สารไนไตร สารกันบูด สารกันเชื้อรา เป็นต้นสารเหล่านี้จะถูกกรองที่ตับ หากได้รับในปริมาณมากเกินไปส่งผลทำร้ายตับได้
นอกจากรับประทานอาหารบำรุง ตับ ไต ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ควรดูแลสุขภาพ ตับ ไต ในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบติดต่อกันนาน ๆ เพราะอาจทำให้การทำงานเสื่อมถอยลงได้ งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มน้ำตาลสูง และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ที่มา: thainakarin.co.th