การมีชีวิตที่ดี คือ การมีสุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัย เราจะมีชีวิตที่มี “สุขภาพดีทุกช่วงวัย” เป็นได้ได้จากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่ การเลือกโภชนาการที่มีประโยชน์ กินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม
การดูแลสุขภาพตามช่วงวัยสามารถใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลตนเองและคนที่คุณรัก คนในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ลดการสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากในการรักษาพยาบาล ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าสุขภาพดี สุขภาพจิตจะดีตามมา สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการติดตามดูแลสุขภาพตามช่วงวัยเป็นส่วนกระตุ้นและสนับสนุนการอัพเดตความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวัยได้อย่างเหมาะสม เพื่อการพัฒนาดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีความรู้ความเข้าใจ
ทำไม ? คุณต้องเริ่มดูแลสุขภาพตามช่วงวัยตั้งแต่ตอนนี้เลย
- สามารถใช้เป็นแนวทางหรือวางแผน ในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก คนในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคลล และที่สำคัญจะเป็นวิธีที่ทำให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น อาหารการกิน ความสมดุลของสารอาหาร ความเครียด การพักผ่อน และสิ่งปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมรอบๆ คุณ หากเกิดสิ่งผิดปกติในร่างกายก็จะสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ทันท่วงที ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต 2 กลุ่มโรคที่สำคัญ ไม่ให้เกิดขี้นหรือลุกลามจนยากแก่การรักษาได้ ได้แก่
- กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs; Non-communicable Diseases) เช่น โรคเบาหวาน โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง (ไขมันพอกตับ) โรคโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคไขมันในเลือดสูง) โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง) โรคภูมิแพ้ต่างๆ
- กลุ่มโรคระบบเผาผลาญในร่างกายพัง (Metabolic Syndrome) เช่น โรคอ้วนลงพุง ภาวะก่อนการเกิดโรคเบาหวาน (Prediabetes) ได้แก่ ภาวะการดื้ออินซูลิน (มีอาการเสพติดของหวานตลอดเวลา มีอาการระดับน้ำตาลในเลือดที่แปรปรวนอย่างผิดปกติ) ภาวะการดื้อเลปติน (กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม กินจุมากขึ้นเรื่อยๆ และต้องการอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่าคนปกติ (ยกเว้นผู้ใช้แรงงานและนักเพาะกาย))
- ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น เพราะหากคุณรับรู้จากการสังเกตอาการผิดปกติที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับคุณในวัยต่างๆ หรือรับรู้จากตรวจสุขภาพเป็นประจำจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ลดการสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากในการรักษาพยาบาล
- ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าสุขภาพดี สุขภาพจิตจะดีตามมา ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจจะลดลง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กระตุ้นและสนับสนุนการดูแลสุขภาพ การติดตามดูแลสุขภาพตามช่วงวัยเป็นส่วนกระตุ้นและสนับสนุนการอัพเดตความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวัยได้อย่างเหมาะสม และความรู้ด้านการดูแลสุขภาพรวมถึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยในช่วงวัยต่างๆ ของคุณเช่นกัน ที่คุณอาจจะประยุกต์มาใช้ในการดูแลสุขภาพคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพไดดียิ่งขึ้น
คําแนะนําเพิ่มเติมด้านการดูแสุขภาพและโภชนาการ
ที่จะช่วยดูแลสุขภาพคุณได้ เพื่อให้คุณเข้าใจและเห็นภาพในเบื้องต้น แบ่งการดูแสุขภาพตามช่วงวัยอายุ ดังนี้
- ช่วงอายุ 0-9 เดือน = เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด
- ช่วงอายุหลังคลอด-11 เดือน = ช่วงวัยทารก (ช่วงให้นม)
- ช่วงวัยอายุ 1-4 ปี = ช่วงวัยเด็กเล็ก (เริ่มทักษะการทรงตัวและเคลื่อนไหว)
- ช่วงวัยอายุ 5-12 ปี = ช่วงวัยเด็กโต
- ช่วงวัยอายุ 13-19 ปี = ช่วงวัยรุ่น
- ช่วงวัยอายุ 20-29 ปี
- ช่วงวัยอายุ 30-39 ปี
- ช่วงวัยอายุ 40-49 ปี
- ช่วงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป
แนะนำการเลือกอาหารให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
การเลือกโภชนาการที่มีประโยชน์ การออกกําลังกาย การดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาสุขภาพจิต การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี และแน่นอนแต่ละช่วงวัยของคุณจะได้รับการดูแลที่แตกต่างกันในรายละเอียด นั่นคือหัวใจสําคัญสําหรับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองที่จะลดโอกาสการเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างยาวนาน
ช่วงอายุ 0-9 เดือน = เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด
การใช้ชีวิตที่มีคุณภาพและได้รับโภชนาการที่ดีของคุณแม่ จะส่งผลต่อสุขภาพในช่วงแรกเริ่มของทารกในครรภ์อย่างมาก โดยส่งผลถึงสุขภาพที่แข็งแรงหรืออ่อนแอของชีวิตที่กำลังถือกำเนิดขึ้นได้
โภชนาการและการกิน*
- อาหารที่สำคัญสำหรับคุณแม่ ได้แก่
- ธัญพืช, ข้าวไม่ขัดสี,
- ผักใบเขียวหรือผักหลากสี และพืชตระกูลถั่ว
- ผลไม้ที่ให้เส้นใยอาหารและไม่หวานจัด เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อะโวคาโด แอปเปิ้ล เป็นต้น
- นม โยเกิร์ต ชีส จากกระบวนการผลิตอย่างธรรมชาติ
- โปรตีนจากเนื้อ ปลา สัตว์ปีก ไข่
- สารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก โปรตีน ไอโอดีน โฟเลต
- หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา น้ำอัดลม ขนมคบเคี่ยว และอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป
- งดอาหารรสจัด ของดิบ และของหมักดอง เช่น อาหารหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ผลไม้ดอง ปลาร้า เนื้อดิบ เป็นต้น
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การทำงานหรือยกของหนัก
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ
*ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชของคุณก่อนพิจารณา
โดยการกินอาหารสำหรับคุณแม่และลูกในครรภ์ ควรเน้นที่คุณภาพทางโภชนาการมากกว่าการที่จะต้องกินในจำนวนที่เยอะๆ ที่ให้แคลอรี่สูง และคุณภาพทางสารอาหารต่ำ หมั่นเสริมทักษะทางการสื่อสารกับทารกในครรภ์ เช่น พูดคุย เล่านิทาน ร้องเพลงหรือเปิดเพลงเพราะๆ เบาๆ กล่อมลูกในครรภ์ พร้อมลูบครรภ์เพื่อสร้างความผูกพันธ์ผ่านทางระบบประสาทการการสัมผัสและการได้ยินระหว่างแม่กับลูก
ช่วงอายุหลังคลอด-11 เดือน = ช่วงวัยทารก (ช่วงให้นมบุตร)
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับ 6 เดือนแรก น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดและเป็นธรรมชาติที่สุดซึ่งมีสารอาหารทั้งหมดที่ทารกต้องการในช่วง 6 เดือนแรก และหากคุณแม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมจากเต้าได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชของคุณ สำหรับผลิตภัณฑ์นมผงและสารอาหารที่ลูก ควรได้รับในแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันบ้างในด้านโภชนาการสำหรับเด็กแรกเกิด
ตั้งแต่อายุประมาณ 12 เดือนเป็นต้นไป ให้เด็กวัยหัดเดินได้รับอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย ผู้ปกครองของเด็กควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้เด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงความคุ้นชินอาหารที่อาจทำลายสุขภาพ เช่น อาหารหวาน อาหารแปรรูป อาหารสังเคราะห์ ขนมอบกรอบหรือขบเคี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น การแนะนำเด็กให้รู้จักประโยชน์อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น การเลือกกินเนื้อสัตว์ ผักออแกนิค ผลไม้ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือสังเคราะห์ทางสารเคมี ฝึกการดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอต่อวันอย่างมีวินัย การให้คำแนะนำที่ดีกับเด็กวัยนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างลักษณะนิสัยการรักสุขภาพในระยะยาวได้
เมื่ออายุประมาณ 6 เดือนทารกมีร่างกายและการพัฒนาพร้อมที่จะกินอาหารแบบอื่นๆ ได้ เช่น อาหารปั่นหรือบดละเอียด และมีพัฒนาการในขั้นนี้ ได้แก่
- ความสามารถในการใช้มือกุมหรือสัมผัสศรีษะตัวเอง พยายามดึงลำตัวขึ้นหรือนั่ง
- มองหาและคว้าสิ่งของ
- นอกจากการร้องเมื่อต้องการอาหาร ทารกก็ร้องเพื่อเรียกความสนใจ
- ทารกสามารถการดูดหรือกัด
ไม่ควรให้อาหารที่มีความหวานหรือรสจัด อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือผสมสารเคมีในอาหาร ของดิบ ผลิตภัณฑ์จากข้าว ธัญพืช และถั่ว อาหารที่แข็งหรือมีกาก และเครื่องดื่มต้องเป็นน้ำนมและน้ำเปล่าเท่านั้น ระมัดระวังสิ่งของเล็กที่ทารกอาจนำเข้าปากที่จะเสี่ยงต่อสิ่งของติดคอได้
ช่วงอายุ 1-4 ปี = ช่วงวัยเด็กเล็ก (เริ่มทักษะการทรงตัวและเคลื่อนไหว)
การเล่นในที่สาธารณะอย่างสวนสาธารณะเป็นวิธีที่ดีให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนทักษะการเข้าสังคม หลีกเลี่ยงการให้เด็กวัยนี้เล่นสมาร์ทโฟนมากกว่าการเล่นที่ต้องฝึกการเคลื่อนไหวทางกายภาพและการเข้าสังคมกับเด็กหรือเพื่อนๆ ในช่วงวัยเดียวกัน ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการพัฒนาสติปัญญา การสร้างกล้ามเนื้อ ทักษะการเคลื่อนไหว และความมั่นใจในการเข้าสังคมได้ และเด็กควรอยู่ในสายตาของคุณหรือผู้ปกครอง
ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนในแต่ละวันได้อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยในด้านสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ช่วงอายุ 5-12 ปี = ช่วงวัยเด็กโต
การที่ผู้ปกครองได้มีเวลาในการทำกิจกรรมและการอบรมแนะนำแนวทางที่ต่างๆ ที่ดีแก่เด็กวัยนี้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่ดี เพื่อที่เด็กจะสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้ต่อไปในระยะยาว เพื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตข้างหน้า
การกินอาหารที่ดีตามคำแนะนำด้านโภชนา โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายสุขภาพ เช่น อาหารหวานหรือรสจัด อาหารแปรรูป อาหารสังเคราะห์ ขนมอบกรอบหรือขบเคี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น การแนะนำเด็กให้รู้จักประโยชน์อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น การเลือกกินเนื้อสัตว์ ผักออแกนิค ผลไม้ที่ไม่ก่อโรคเรื้อรัง อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือสังเคราะห์ทางสารเคมี หรือหากเด็กอยากลองกินก็ควรจำกัดปริมาณ พร้อมกับคำแนะนำในด้านผลเสียที่จะเกิดขึ้นได้หากบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มเหล่านั้นมากเกินไป ฝึกการดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอต่อวัน ฝึกกินอาหารเป็นมื้อๆ และเริ่มการออกกำลังกายอย่างมีวินัย
เพิ่มทักษะการการดูแลสุขภาพ ทักษะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และการรักการอ่าน
เมื่อเด็กเริ่มหัดใช้เวลาอยู่หน้าจออุปกรณ์สื่อสาร ควรได้รับคำแนะนำและได้รับการดูแลจากผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด เพื่อคัดกรองเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยและเพื่อให้ความรู้ได้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงวิธีการใช้งานอย่างรู้ทันสื่อ มีการคัดกรองการเข้าถึงข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่น เฟคนิวส์ การขโมยข้อมูล การล่อลวง เป็นต้น
ช่วงอายุ 13-19 ปี = ช่วงวัยรุ่น
ชีวิตและประสบการณ์ในช่วงวัยรุ่นเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายภาพ ฮอร์โมนที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมและความอยากรู้อยากลอง การเลียนแบบ ให้ความสนใจในกระแสแฟชั่น รสนิยมหรือไลฟ์สไตล์ด้านต่างๆ แนวความคิดต่อสังคม ความสนใจรายได้ และเรื่องเพศศึกษา
สิ่งที่จะส่งเสริมการกินและการดูแลสุขภาพของวัยได้อย่างเข้าถึง คือ การเปิดใจของผู้ปกครอง แลกเปลี่ยนเรื่องราวด้านสุขภาพและด้านต่างๆ พร้อมแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การให้เวลาและหาโอกาสพาวัยรุ่นตรวจสุขภาพประจำปีและพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อได้คำปรึกษาและคำแนะนำแนวทางการกิน การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่วัยรุ่นต้องการ
การหาสิ่งที่เป็นแรงจูงใจทั้งจากครอบครัวหรือตัววัยรุ่นเองในการดูแลสุขภาพของวัยรุ่น ย่อมทำให้วัยรุ่นมีความภาคภูมิใจและเต็มใจที่จะทำมากกว่า
ช่วงวัยอายุ 20-29 ปี
สร้างวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีโดยการกินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม หรือจะเลือกการกินอาหารแบบคีโต ไดเอต (Healthy Ketogenic Diet) การฝึกวิธีอดอาหารเป็นช่วงๆ โดยมีการกำหนดเวลาในการอดอาหารและรับประทานอาหารอย่างถูกวิธี (Intermittent Fasting) ออกกําลังกายเป็นประจํา จัดเวลาการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะความรู้การดูแลรักษาสุขภาพด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง – จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของคุณและฝึกให้ร่างกายสามารถใช้พลังงานทั้งในรูปแบบไขมันและน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณพลาดการฝึกวิธีดังกล่าวไปในช่วงนี้ จะผลต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณ ที่อาจเพิ่มความเสียงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเมแทบอลิกซินโดรม (โรคระบบเผาผลาญพัง) โรคข้อต่อ เช่น โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ รวมถึงความผิดปกติของอารมณ์และอื่น ๆ จึงควรเริ่มป้องกันโรคเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วงวัยนี้
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป – ชีวิตในวัย 20 ปีของคุณอาจสนุกมากด้วยกิจกรรมทางสังคม เช่น การพบปะสังสรรค์ปาร์ตี้และการพบปะเพื่อนเก่าเพื่อนใหม่หรือกับเพื่อนร่วมงาน คุณจึงจำเป็นต้องฝึกควบคุมการร่วมกิจกรรมเหล่านี้อย่างรู้ทันด้านสุขภาพ และหากบ่อยครั้งไปคุณควรรู้จักการปฏิเสธเพื่อสุขภาพที่ดี สิ่งสําคัญคือต้องคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของคุณเมื่อคุณรู้ว่ากิจกรรมการนัดเจอนั้นอาจจะไม่ดีต่อสุขภาพรวมถึงผลกระทบเวลาการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ ที่คุณจะต้องเสียไป
- ดูแลสุขภาพผิวของคุณให้ดีที่สุด – การแก่ก่อนวัยหรือสภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมนั้นส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและบุคลิกความมั่นใจได้ คุณจึงต้องดูแลผิวของคุณด้วยการทําความสะอาด ให้ความชุ่มชื้น จากการกินอาหารที่ดีมีคุณภาพตามหลักโภชนาการ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน ปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด การกินอาหาร และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การละเลยเรื่องสุขภาพผิว สามารถนําไปสู่การเกิดการปัญหาสุขภาพผิวอื่นๆ เช่น การเกิดฝ้ากระ การเกิดสิวอักเสบ สิ้วเสี้ยน หรือโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื่อน อาการแพ้คัน เป็นต้นรใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ ที่คุณจะต้องเสียไป
- การปฏิบัติกิจกรรมทางเพศอย่างปลอดภัย – สําหรับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ควรตรวจคัดกรองเซลล์ปากมดลูก ถ้าหากเกิดความผิดปกติแล้วปล่อยถึงไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจนําไปสู่มะเร็งปากมดลูกได้ เซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้มักเกิดจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากการมีเพศสัมพันธ์ และสําคัญมากสําหรับทั้งเพศหญิงและชาย ในการตระหนักถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ เช่น ถุงยางอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) และหมั่นตรวจคัดกรองเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อ HIV เชื้อ HPV เชื้อเริม เชื้อซิฟิลิส อย่างสม่ำเสมอ
- การฉีดวัคซีน – ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ วัคซีนหัดคางทูมหัดเยอรมัน (MMR) บาดทะยัก Diphteria ไอกรน (Tdap), อีสุกอีใสและวัคซีนไวรัสต้านเชื้อ Human papillomavirus (HPV) ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อที่จะส่งผลต่อภูมิคุ้มกันและป้องกันการแพร่กระจายของโรคเหล่านี้ไปสู่ผู้อื่นได้
- เริ่มทําการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับผู้หญิง – ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อทําความคุ้นเคยและสังเกตความผิดปกติในส่วนหน้าอกของคุณ หากคุณสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ เช่น หัวนมมีการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือสี คลำเจอก้อนหรือรอบบุ๋มบริเวณเต้านม เพื่อให้ทันต่อการตรวจหรือรักษา เนื่องจากการตรวจเจอก้อนที่เต้านมในวัยนี้ อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องของฮอร์โมนและการมีรอบเดือน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสําคัญที่จะต้องได้รับการประเมินทางคลินิกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณ
- หมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพประจําปี – แนะนําให้ตรวจคัดกรองค่าดัชนีมวลกาย การวัดรอบเอว และความดันโลหิต สําหรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป การทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อการตรวจคัดกรองที่ละเอียดยิ่งขึ้น และคุณจะได้รู้แนวทางในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง หากเกิดความผิดปกติอันเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต คุณก็จะสามารถรักษาและวางแผนกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ เพื่อปรับการรักษา การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม สำหรับการตรวจสุขภาพพื้นฐานที่คุณควรจะได้รับรู้เกี่ยวกับสุขภาพคุณ ได้แก่
ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)
- วัดความเข้มข้น ปริมาณของเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง
- ดูขนาด รูปร่างและสีของเม็ดเลือดแดง
- วัดและแยกประเภทเม็ดเลือดขาว แสดงถึงภาวะการอักเสบ การติดเชื้อต่างๆ พยาธิและโรคทางพันธุกรรม เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- วัดปริมาณเกล็ดเลือด เพื่อประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด
- ตรวจหมู่โลหิต ABO กับหมู่ Rh
ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
- เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงโรคเบาหวานเบื้องต้น
ระดับไขมันในเส้นเลือด (Lipid Profile)
- ตรวจเพื่อประเมินอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ตรวจระดับไขมันรวมในเลือด (Total Cholesterol) ระดับไขมันชนิดดี (HDL) ระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ซึ่งถ้าสูงเกินไป จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมอง
การทำงานของตับ (Liver Function Tests)
- ตรวจประสิทธิภาพการทำงานของตับ ภาวะตับอักเสบ เอนไซม์ที่สร้างจากตับ
การทำงานของไต (Renal Function Tests)
- ตรวจการทำงานและประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไต
- ตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเพื่อดูแนวโน้มการเกิดโรคเกาต์
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
- ตรวจเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคไต และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ช่วงวัยอายุ 30-39 ปี (เพิ่มเติมจากช่วงวัยอายุ 20-29 ปี)
ดูแลสุขภาพและติตตามประสิทธิภาพในส่วนระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย (Metabolism) ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจของคุณ (Circulatory and Cardiac System) – ในช่วงวัย 30 ปีคุณอาจทุ่มเทเวลาและพลังงานทั้งหมดให้กับการทำงานของคุณอย่างจริงจัง จนอาจมีภาวะเครียดสะสม รวมถึงการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ที่คุณอาจจะไม่ได้เลือกอาหารที่จะช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพของคุณ เพราะความเร่งรีบในการทำงาน และการไม่มีเวลาเพียงพอสําหรับการออกกําลังกาย และการนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของคุณ แม้ว่าคุณจะยังคงดูแข็งแรง แต่หากอาการกำเริบนั้นไม่ดีต่อชีวิต และหน้าที่การงานของคุณเป็นแน่ คุณต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตในช่วงวัยนี้
รับการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (์NCDs) และกลุ่มโรคระบบเผาผลาญในร่างกายพัง (Metabolic Syndrome) สม่ำเสมอ
การดูแลสุขภาพคุณให้ดีที่สุด คือ การลงทุนในระยะยาว ทำให้การกินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม การฝึกวิธีอดอาหารอย่างถูกวิธี (IF) ออกกําลังกายเป็นประจํา จัดการการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะความรู้การดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีความเข้าใจแท้จริงนั้น เป็นสิ่งที่เป็นที่คุณต้องให้ความใส่ใจอย่างแท้จริง
ดูแลสุขภาพจิตของคุณ – ความผิดปกติของสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดสะสมหรือเรื้อรังที่ถูกกระตุ้นโดยปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สําคัญในชีวิต ชีวิตที่เครียดจากการทํางานตามสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การแข่งขันสูง เบื้องต้นคุณจัดการได้โดยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลายในแบบที่คุณคุณชอบที่จะไม่สร้างผลเสียต่อสังคมหรือคนรอบข้างคุณ เช่น การอ่านหนังสือเพื่อส่งเสริมความคิดและจิตใจ การนั่งสมาธิ การท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่จะสามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายและมีทัศนคติด้านบวก แต่หากคุณรู้สึกว่ามันยากเกินไปที่จะรับมือได้คุณควรปรึกษาแพทย์หรือที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตของคุณ
การพิจารณาการวางแผนครอบครัว – หากคู่สมรสที่กําลังพิจารณาที่จะมีครอบครัวควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงหรือโรคทางพันธุกรรมที่สามารถเพิ่มภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกในครรภ์ได้
ช่วงวัยอายุ 40-49 ปี
ให้ความใส่ใจต่อสุขภาพของคุณเป็นสิ่งสําคัญเป็นอันดับต้นๆ – ในวัยนี้ให้พิจารณาไปที่แพ็คเกจตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมมากขึ้น เพราะนี่จะช่วยคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (์NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนิ่วภายในอวัยวะภายใน สำหรับผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 49 ปีควรขอคําแนะนําจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสตรีในการตรวจเต้านม และแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เป็นประจําทุกปี
ตรวจผลข้างเคียงหรือความเสี่ยงสุขภาพจากยาที่คุณกำลังตัดสินใจใช้ – หากคุณเริ่มต้นใช้ยาใด ๆ ควรปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์ของคุณ
คิดให้เหมือนว่าสุขภาพคุณคือสิ่งเดียวที่ไม่สามารถจะซื้อเวลาย้อนกลับไปได้ในช่วงวัยก่อนหน้านี้ เลือกการกินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพ ไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม การฝึกวิธีอดอาหารอย่างถูกวิธี (IF) ออกกําลังกายเป็นประจํา จัดตารางการการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะความรู้การดูแลรักษาสุขภาพด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งที่คุณต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตบั้นปลายกับคนที่คุณรัก อย่างมีสุขภาพแข็งแรงและยั่งยืน
ช่วงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัยให้ปลอดภัยพร้อมไปกับการมีสุขภาพที่ดี – ในวัยนี้ความเสี่ยงของการหกล้มและกระดูกหักของคุณอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา รวมถึงความไม่มั่นคงในการทรงตัว คุณอาจต้องการพิจารณาการออกกําลังกายที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระเทือนต่อข้อต่อของคุณ. กิจกรรมต่าง ๆที่แนะนำ เช่น การปั่นจักรยานในร่มในความเร็วที่เหมาะสม การรำไทเก็ก รวมถึงวิธีการเคลื่อนไหวสำหรับการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัยได้อย่างปลอดภัยพร้อมได้สุขภาพที่ดี
หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกายของคุณ – หากคุณมีอาการผิดปกติที่มากขึ้น เช่น หายใจถี่ เจ็บหน้าอกและปวดท้อง สิ่งเหล่านี้อาจต้องมีการประเมินสุขภาพเพิ่มเติมโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อหาสาเหตุเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
การฉีดวัคซีน – นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนตามกําหนดเวลาแล้ว เมื่อคุณมีอายุครบ 65 ปีขึ้นไป ควรพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม (การติดเชื้อในปอด) เพราะเมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในกลุ่มอายุที่มีอาการติดเชื้อในปอด เช่น การติดเชื้อโควิด-19 วัณโรค โรคปอดบวม เป็นต้น
การตรวจคัดกรองโรคที่มีความเสี่ยงสูง – นอกจากการตรวจหาโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ในวัยนี้คุณควรตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก และผู้หญิงควรได้รับการมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม สําหรับผู้ที่มีอาการหรือประวัติครอบครัวการตรวจคัดกรองมะเร็งควรเป็นสิ่งที่ต้องตรวจอย่างละเอียด
การเพิ่มโอกาสในการรักษาสุขภาพที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิต การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ การฝึกการกินอาหารให้เป็นเวลา การนอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การหมั่นอัพเดตความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามแต่ละช่วงวัยที่กล่าวมานี้ สามารถที่จะสนับสนุนการเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุอย่างมีสุขภาพแข็งแรง แบบยั่งยืนได้
การได้ใช้ชีวิตที่มี “สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัย” เป็นเรื่องที่เป็นไปได้และทุกคนควรจะเป็นตั้งแต่การให้กำเนิดในครรภ์ วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ คุณสามารถทำได้ เพราะนี่จะนําคุณไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับชีวิตของคุณได้เลย
ที่มา: pathlab.co.th