Shopping cart

       สัตว์เลี้ยงบำบัด นับเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดด้วยสัตว์ ซึ่งมีงานวิจัยรองรับมากพอสมควรว่าได้ผลดี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ สามารถช่วยเยียวยาด้านจิตใจเป็นอย่างดี สำหรับในเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือทารุณกรรม ก็พบว่าสัตว์เลี้ยงสามารถช่วยเยียวยาจิตใจได้ดีมากเช่นเดียวกัน ให้ทั้งความรู้สึกที่ปลอดภัยขึ้น ได้รับความรักโดยไม่มีเงื่อนไข และเด็กยังสามารถสื่อสารกับสัตว์เลี้ยงได้อีกด้วย

       จากผลการศึกษาทางการแพทย์และทางจิตวิทยา พบว่า สัตว์เลี้ยงบำบัด (Pet Therapy) มีประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการบำบัด หรือผู้ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ดังนี้

5 ประโยชน์จากสัตว์เลี้ยงบำบัด

  1. เสริมความเข้มแข็งทางใจ

       ในการรักษาผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในการสื่อสาร (Aphasia) ด้วยสัตว์เลี้ยง(บำบัด) (Pet Therapy) เช่น แมว สุนัข ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประมาณ 3 – 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมดีขึ้น กล้าที่จะเข้าสังคม มีความพยายามที่จะสื่อสารมากยิ่งขึ้น เพราะสัตว์เลี้ยงมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการสื่อสารพูดคุยนั่นเอง หรือในกรณีของผู้ป่วยโรคออทิสติก (Autistic) ก็พบว่า สัตว์เลี้ยงสามารถช่วยให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเหมาะสมมากขึ้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น สามารถลดพฤตติกรรมก้าวร้าวได้มากขึ้น 

  1. ช่วยลดความไม่สบายใจ

       จากผลการศึกษาการใช้สัตว์เลี้ยง(บำบัด) โดย สุนัขขนาดเล็กในการบำบัดผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม พบว่า ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย (agitated behavior) ลดน้องลงอย่างมาก หรือในกรณีของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาทางจิตวิทยา พบว่า ผู้สูงอายุที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจะมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีสุขภาพกายที่แข็งแรง และมีอายุยืนยาวกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง หรือผู้สูงอายุที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง 

  1. ช่วยให้มองโลกในแง่ดี

      สัตว์เลี้ยง(บำบัด) หรือ Pet Therapy นั้นนอกจากจะมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเราแล้ว ยังมีส่วนอย่างมากในการเปลี่ยนทัศนคติ หรือมุมมองที่เรามีต่อโลก โดยผลการศึกษาการใช้ สัตว์เลี้ยงบำบัด (Pet Therapy) ในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านอารมณ์ พบว่า สัตว์เลี้ยงช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเป็นมิตรมากขึ้น และยังสามารถช่วยลดความคิดในแง่ร้าย ลดการมองโลกในแง่ร้ายได้อีกด้วย เช่นเดียวกับผลการศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) ที่พบว่า ผู้ป่วยซึมเศร้ามีพฤติกรรมใส่ใจตนเองดีขึ้น เนื่องจากสัตว์เลี้ยงช่วยลดความเบื่อโลก เพิ่มความสดใสในชีวิต เติมไฟในการใช้ชีวิตให้แก่พวกเขา

  1. สมาธิดีขึ้น

       ในการรักษาผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ; ADHD) ด้วยสัตว์เลี้ยง(บำบัด) หรือ Pet Therapy พบว่า พวกเขามีสมาธิจดจ่อสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ใส่ใจสิ่งรอบข้าง ผู้คนรอบข้างมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการมีสัตว์เลี้ยงยังชวยให้พวกเขาได้ฝึกการรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น และยังมีระเบียบวินัยในชีวิตมากขึ้นอีกด้วย 

  1. เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self – Esteem)

       จากการศึกษาของ E. Paul Chemiack และคณะ จากสถาบันผู้สูงอายุ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยไมอามีมิลเลอร์ (Miller School of Medicine – University of Miami) รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ที่ได้เผยแพร่ในวาร Current Gerontol Geratic Research เมื่อปี ค.ศ. 2014 โดยทำการศึกษาเรื่อง The Benefit of Pet and Animal-Assisted Therapy to the Health of Older Individuals ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพการรักษาโรคซึมเศร้าและจิตเภท โดยการใช้สัตว์เลี้ยง(บำบัด) (Pet Therapy) พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยงมีค่าอาหารทางจิตใจ (psychological symptoms) ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการบำบัดอย่างชัดเจน นอกจากนี้ผู้ป่วย จำนวน 28 ราย มีอาการของโรคซึมเศร้าลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ในผู้ป่วยโรคจิตเภท จำนวน 20 ราย มีสมดุลย์เชิงสังคม (social functioning) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

       ข้อควรคำนึงถึงที่สำคัญสำหรับการมีสัตว์เลี้ยงก็คือ ความชอบในสัตว์ประเภทนั้น เช่น บางคนเป็นทาสแมวก็ไม่ควรเลี้ยงสุนัข บางคนชอบสุนัขก็ไม่ควรเลี้ยงกระต่าย หรือบางคนกลัวสัตว์ปีกก็ไม่ควรเลี้ยงนก เลี้ยงไก่ เพราะหากเราเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ไม่ถูกจริต ไม่ถูกใจ แทนที่เราจะมีสัตว์เลี้ยง(บำบัด) อาจจะกลายเป็นสร้าง Toxic ให้กับตัวเอง เอาที่เราชอบจริงๆ ค่อยพาเค้ามาดูแลกันนะคะ จะเป็นผลดีทั้งตัวสัตว์ที่เลี้ยงและตัวเราเอง

 

ที่มา: istrong.co

ใส่ความเห็น

ธันวาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  
X