Shopping cart

        “กัญชา” ถือเป็นหนึ่งในพืชที่มีสารสำคัญอยู่ภายใน มนุษย์รู้จักการใช้กัญชาพืชชนิดนี้นำมาใช้เป็นสรรพคุณทางยากันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหนึ่ง ต่อมาเมื่อกัญชาถูกควบคุมให้เป็นยาเสพติดจึงถูกระงับการใช้ในวงการแพทย์ไป แต่ก็ยังมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยใช้เป็นยารักษาอาการบางอย่างด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านอยู่ จนเมื่อมีนักวิทยาศาสตร์ ได้มาไขปริศนาจนเกิดเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์สมัยใหม่ จน “กัญชา” กลับมาเป็นพืชที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง รวมถึงในประเทศไทยได้อนุญาตให้ ปลูกและนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ และปลดล๊อคให้บางส่วนของกัญชา ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป

       กัญชา คือ พืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน โดยใบกัญชาสดจะอุดมไปด้วยสารอาหารทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด

กัญชา มีสารประกอบกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) อยู่ 2 ชนิดสำคัญ ได้แก่ สาร CBD (Cannabidiol) และสาร THC (Tetrahydrocannabinol)

สาร CBD (Cannabidiol) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้

  • ลดความวิตกกังวล ผ่อนคลาย
  • ลดอาการปวด
  • ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ไม่มีผลต่อจิตประสาท และไม่ก่อให้เกิดการเสพติด

สาร THC (Tetrahydrocannabinol) หรือ “สารเมา” เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยสารนี้จะออกมาพร้อมกับสาร CBD ตอนสกัดกัญชา หากร่างกายได้รับสาร THC มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย

  • ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ใจสั่น สติแปรปรวน
  • ประสาทหลอน เกิดภาพหลอน หูแว่ว
  • หวาดระแวง แพนิค
  • ความจำระยะสั้นแย่ลง
  • สมองทำงานแย่ลงโดยกะทันหัน
  • มีผลอย่างมากต่อระบบสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี โดยมีผลทั้งด้านความจำ และปริมาณเนื้อสมองที่จะลดลงถึง 10%
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเวช หรือมีประวัติครอบครัว เพิ่มความเสี่ยงเกิดอาการประสาทหลอนอย่างถาวร สูงถึง 20%

อาการดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แม้จะหยุดการบริโภคไปแล้ว อาการก็อาจจะไม่ดีขึ้น โดยพบว่าสาร THC จะตกค้างอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 1-7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ในการบริโภค

 

 

กลุ่มผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชา

  •  เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางจิต หรือเสพติดยาที่เคยมีผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง

สรรพคุณจากใบกัญชาสด

เมื่อพิจารณาจากมุมมองขององค์ประกอบทางชีวเคมีเพียงอย่างเดียว ใบกัญชาดิบเป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารที่ดีเยี่ยม ประกอบไปด้วยสารประกอบสารต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ

    • วิตามินซี (Vitamin C) ช่วยสร้างและสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัด และหากออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำร่วมด้วย จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง 50%
    • วิตามินเค (Vitamin K) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
    • ธาตุเหล็ก (Iron) ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างในร่างกาย
    • แคลเซียม (Calcium) มีหน้าที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายเกือบทุกส่วน และที่สำคัญยังมีหน้าที่สร้างกระดูก ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย
    • โพแทสเซียม (Potassium) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
    • สังกะสี (Zinc) เป็นสารที่สนับสนุนสังเคราะห์ DNA หรือโปรตีน เสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบเผาผลาญ การซ่อมแซมบาดแผลหรือเนื้อเยื่อที่อักเสบ สนับสนุนพัฒนาและการเจริญเติบโตของเซลล์ การรับรสและกลิ่น และยังสามารถป้องกันการเกิดโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa) โรคสมาธิสั้น และอาการเสื่อมและอักเสบในร่างกาย เช่น สิวเห่อเรื้อรัง จอประสาทตาเสื่อม
    • โฟเลตหรือวิตามินบี 9 (Folic Acid / Vitamin B9) มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการช่วยสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA)
    • สารแคโรทีนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านมะเร็ง
    • สารเซเลเนียม ป้องกันและชะลอความชรา
    • สารลิโมนีนที่พบในเลมอนช่วยต้านแบคทีเรีย
    • สารแอนโทไซยานินที่พบในผลไม้สีแดง ช่วยป้องกันการตกตะกอนของเกล็ดเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ
    • สารเทอร์ปีนซึ่งเป็นสารให้กลิ่นเฉพาะช่วยให้ผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด
    • สารเบต้าแคโรทีนที่มักพบในแครอทช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
    • มีไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารสูง (Dietary Fiber) มีหน้าที่ในการดูแลระบบย่อยอาหารให้มีสุขภาพดี ช่วยควบคุมน้ำหนักโดยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการกินอาหารมากเกินไปและป้องกันอาการหิวระหว่างมื้ออาหารในแต่ละมื้อ ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดอาการท้องผูก รวมทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวานและโรคมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
    • สาร CBD (Cannabinoid) มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
    • สาร THC (delta-9-Tetrahydrocannabinol, ∆9-THC) มีผลต่อระบบประสาทและจิตใจ ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร

เป็นความน่าสนใจที่ดูเหมือนว่ากัญชาจะมีสรรพคุณได้มากมายขนาดนี้ แต่ก่อนที่คุณจะใช้จำเป็นต้องศึกษาความเสี่ยงของกัญชาควบคุู่กันไปด้วย

 

ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงการใช้กัญชา

กัญชาสามารถออกฤทธิ์คล้ายสารเสพติดที่อยู่ในฝิ่นที่จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง แต่ก็ถือว่ากัญชามีความเสี่ยงน้อยกว่า นี่เป็นเหตุผลสองประการที่ผู้สนับสนุนจำนวนมากผลักดันให้กัญชาถูกกฎหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับการจัดการความเจ็บปวด แต่ยังคงต้องพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกัญชาอย่างเท่าเทียมกัน ด้านล่างนี้คือผลข้างเคียงบางส่วนที่คุณควรปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ:

ผลกระทบระยะสั้น

หากคุณใช้กัญชาในปริมาณที่สูงและต่อเนื่องกันหลายวันเป็นประจำ สาร THC ในกัญชา กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว การไหลเวียนของเลือดจะนำสารเคมีไปยังสมองและอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย ร่างกายดูดซึม THC ได้ช้ากว่าเมื่อรับประทานหรือดื่ม ในกรณีนั้นผู้ใช้มักจะรู้สึกถึงผลกระทบหลังจาก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง สาร THC ทำหน้าที่เกี่ยวกับตัวรับเซลล์สมองจำเพาะซึ่งปกติจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่มีลักษณะคล้าย THC ตามธรรมชาติ สารเคมีธรรมชาติเหล่านี้มีบทบาทในการพัฒนาและการทำงานของสมองตามปกติ กัญชาจะกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ของสมองที่มีผู้รับเหล่านี้จำนวนมากที่สุด ทำให้เกิดอาการาการเคลิ้มจิต (“high” or “stoned”) เป็นอาการกระตุ้นประสาท ที่สามารถปรับภาวะความเครียดของผู้ใช้ให้มีอาการเคลิ้มจิตเคลิ้มใจ มีความสุขร่าเริง ต่อมาก็เกิดอารมณ์แปรปรวน เช่น ยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ กระโดดโลดเต้น โหวกเหวกโวยวาย พูดคุยคนเดียวหรือพูดจาจับใจความไม่ได้ เป็นต้น โดยอาการแปรปรวนทางอารมณ์ดังกล่าวจะเกิดสลับหมุนเวียนกันจนกว่าจะหมดฤทธิ์กัญชา และยังมีอาการข้างเคียงที่อาจจะเพิ่มความรุนแรงต่อสุขภาพที่คุณจะต้องพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้

  • ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไป (เช่น การเห็นแสงสีที่สว่างจ้าหรือสดใสกว่าปกติ)
  • ตาแดง ปากแห้ง และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
  • หายใจเร็ว ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงผิดปกติ
  • ความรู้สึกเชื่องช้า
  • กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาบกพร่อง
  • หลงๆ ลืมๆ ความจำบกพร่อง
  • สมาธิสั้น
  • การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
  • อารมณ์แปรปรวน
  • อาการซึมเศร้า (หากใช้ในปริมาณที่สูงและต่อเนื่องกันหลายวันเป็นประจำ และสามารถส่งผลเป็นโรคซึมเศร้าในระยะยาวได้)
  • โรคจิต ภาพหลอน อาการหลงผิด หูแว่ว (ความเสี่ยงสูงสุดเมื่อใช้กัญชาที่มีฤทธิ์สูงเป็นประจำ และสามารถส่งผลต่อเนื่องได้ในระยะยาว)
ผลกระทบระยะยาว

ผลกระทบด้านลบของกัญชาสำหรับผู้สูบกัญชาในระยะยาว อาจมีความเสี่ยงที่อาการระบบทางเดินหายใจแย่ลงและมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังบ่อยครั้งขึ้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สูบหรือได้รับควันกัญชาจะมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีน้ำหนักแรกเกิดลดลง สำหรับผู้ใช้กัญชาโดยทั่วไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจิตเภทและโรคจิตอื่นๆ มากขึ้น และมีความเชื่อมโยงระหว่างการใช้กัญชากับความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุต่างๆ สูงขึ้น และกัญชายังเชื่อมโยงกับผลข้างเคียงระยะยาวอื่นๆ รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผลระยะยาวของการเสพกัญชาพบว่า สัมพันธ์กับการเกิดโรคจิต การฆ่าตัวตาย การทำร้ายผู้คนรอบข้าง การติดเสพติดกัญชา สมองฝ่อ ความคิดความจำผิดปกติ โรคหลอดเลือดและหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวายฉับพลัน ถุงลมโป่งพอง มะเร็งอัณฑะ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ แน่นอนการใช้กัญชาอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่สูงขึ้นโดยไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะส่งผลต่อความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย

ผลข้างเคียงการใช้กัญชา จะอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาว คือ

  • ความพึงพอใจในการใช้ชีวิตลดลง เกิดความซึมเศร้าด้อยค่าตนเอง
  • สุขภาพจิตแย่ลง เกิดความเครียด วิตกกังวล และหวาดระแวงจากการการทำงานของระบบประสาทและสมองที่ผิดเพี้ยน
  • สุขภาพร่างกายแย่ลง ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ และเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ
  • เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง
  • มีมุมมองต่อสังคมในด้านลบ และหวาดระแวง
  • ก่อเกิดปัญหาทางสังคมและอาชญากรรม
  • โรคจิต ภาพหลอน อาการหลงผิด หูแว่ว

       การใช้กัญชาทางการแพทย์ถือเป็นยาใหม่ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ดังนั้นต้องใช้อย่างระมัดระวังควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนอย่างเข้าใจ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นคัดกรองข้อห้ามและข้อควรระวังต่างๆ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม

 

 

ที่มา : sikarin.com

ใส่ความเห็น

มกราคม 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031