การสกรีนเสื้อระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
จะเป็นการสกรีนโดยใช้ระบบการพิมพ์ลวดลายด้วยเครื่องพิมพ์ Ink Jet หรือ Laser ลงบนกระดาษพิเศษที่เรียกว่า Transfer paper แล้วนำไปกดด้วยเครื่องรีดความร้อนเพื่อให้หมึกระเหิดย้อมติดไปบนเสื้อโดยมีแผ่นฟิล์มบนกระดาษเป็นตัวเคลือบยึดเกาะลวดลายกับตัวเสื้ออีกชั้นนึง ระบบรีดร้อน (Heat Transfer) จะสามารถทำได้ 3 แบบ คือ การสกรีนเสื้อแบบซับลิเมชั่น (Dye-Sublimation) การสกรีนเสื้อแบบ Flex Transfer (Poly Flex Transfer) และการสกรีนเสื้อแบบโพลีเฟล็กซ์ ทรานเฟอร์ (Poly Flex Transfer) ซึ่งจะแตกต่างจากการสกรีนเสื้อแบบ DTG
1. การสกรีนเสื้อแบบซับลิเมชั่น (Dye-Sublimation)
เหมาะกับงาน “ ลายยาก – สีเยอะ – กราฟฟิกเยอะ สกรีนได้เฉพาะเสื้อสีอ่อน ”
Sublimation คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษด้วยน้ำหมึก Sublimation แล้วน้ำมารีดร้อนลงบนเสื้อโดยใช้เครื่องรีดร้อน (Heat Press) กดทับเพื่อถ่ายเทน้ำหมึกที่อยู่บนกระดาษลงไปในเนื้อผ้า ดังนั้นเสื้อที่สกรีนด้วยวิธีนี้จึงสามารถซักได้เป็นสิบๆ ครั้งโดยที่สีไม่หลุดล่อน และสามารถใช้เตารีดรีดลงบนรูปภาพที่สกรีนได้โดยตรงโดยไม่ติดเตารีด
Sublimation เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กระบวนการสกรีนเริ่มโดยการสั่งงานพิมพ์ลงบนกระดาษ Sublimation จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ลายสกรีนไปวางบนเสื้อแล้วรีดด้วยเตารีด หรือเครื่องรีดร้อน เนื่องจากความร้อน หมึกที่อยู่บนกระดาษจะระเหิดไปเกาะบนเสื้อ
การพิมพ์แบบ Sublimation จะติดได้ดีบนเนื้อผ้าที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์ (Polyester) เช่น TK, TC, ชีฟอง, ซาติน, นาโน, สเปนแดกซ์ และอื่นๆ แต่จะไม่สามารถใช้ได้กับผ้าที่เป็นใยธรรมชาติ หรือ Cotton 100% ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาผ้าที่ผสมใยสังเคราะห์ต่างๆ ให้ผู้บริโภคสวมใส่สบายมากยิ่งขึ้นเหมือนสวมใส่ผ้าใยธรรมชาติ แต่ต้นทุนถูกลง งาน Sublimation จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
2. การสกรีนเสื้อแบบ Flex Transfer (Poly Flex Transfer)
เป็นการสกรีนที่เหมาะกับงานทุกจำนวน “สีเดียว” สกรีนได้ทุกสี
เป็นการสกรีนโดย การทำลวดลายในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้เครื่องตัดสติกเกอร์ตัดแผ่น Flex เหมาะกับงานสกรีนตัวอักษรชื่อ หรือตัวเลข สกรีนได้ทั้งเสื้อยืด และเสื้อกีฬา
แผ่น Flex คล้ายๆ แผ่นสติ๊กเกอร์ มีสีเดียวอาจเป็นสีดำ สีทอง หรือสีเงิน แล้วใช้เครื่องรีดอัดความร้อนเพื่อให้แผ่น Flex ละลายไปติดลงบนเสื้อ
โพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex) อาศัยกาวเป็นตัวยึดเกาะ โดยการพิมพ์ลงบนกระดาษหรือฟิล์มโดยมีกาวเคลือบ ก่อนจะนำไปรีดต้องแกะด้านกาวออกก่อนเหมือนแกะสติกเกอร์
เมื่อนำไปรีดร้อนกาวที่อยู่บนกระดาษ ส่วนกระดาษที่ใช้จะแตกต่างกันเพราะมันจะเคลือบกาวไว้เมื่อโดนความร้อนจากเครื่องรีด กระดาษนั้นจะติดกับเสื้อนั่นเอง เหมือนกับเฟล็กติดเสื้อฟุตบอล
เมื่อนำไปรีดความร้อนกาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างสีกับเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเภทงานพิมพ์เนื่องจากหมึกพิมพ์ สามารถใช้ได้กับหลากหลายชนิดงานพิมพ์ เช่น งานพิมพ์ออฟเซต, งานพิมพ์กราเวียร์, งานพิมพ์สกรีน และงานพิมพ์อิงค์เจ็ต
ซึ่งแต่ละประเภทงานก็มีความแตกในเรื่องของความละเอียดความคมชัดของงานและ ปริมาณที่จะพิมพ์ โดยในงานพิมพ์อิงค์เจ็ตจะใช้กระดาษทรานเฟอร์ซึ่งเป็นกระดาษชนิดพิเศษที่มี การเคลือบกาว แล้วใช้หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทธรรมดาหรือหมึกกันน้ำ(ดูราไบท์)พิมพ์ลงบนกระดาษ ทรานเฟอร์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แล้วจึงนำไปรีดด้วยเครื่องรีดความร้อน กาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างหมึกพิมพ์กับเส้นใยของผ้า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผ้าการพิมพ์ลงบนผ้า cotton 100%
“Sublimation กับ Flex Transfer ” ซึ่งจริงๆ แล้วมันแตกต่างกัน Heat transfer แปลตามชื่อก็หมายถึงการแลกเปลี่ยนความร้อน แต่ในงานสกรีนคือ การทำให้สีติดโดยใช้การแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งยังแตกย่อยอีกหลายกระบวนการ แต่ที่นิยมในไทยจะเป็นการพิมพ์ลงกระดาษที่มีกาวเคลือบไว้ด้านหลัง
3. การสกรีนเสื้อแบบโพลีเฟล็กซ์ ทรานเฟอร์ (Poly Flex Transfer)
Poly Flex คือ แผ่นยางรีดหรือ PVC มีองค์ประกอบเดียวกันกับพลาสติกซึ่งเมื่อถูกความร้อนสูง จะหลอมละลาย และเมื่อนำไปอยู่ภายใต้ภาวะแรงกดที่เหมาะสมบนเนื้อผ้าเนื้อยางบางที่เป็นผิวที่สัมผัสอยู่กับเส้นใยผ้าก็จะหลอมละลายยึดติดไปบนเส้นใยผ้า
ผิวสัมผัสด้าน หากใช้ยางรีดที่หนาผิวสัมผัสก็จะนูนมีน้ำหนักไม่เรียบเนียนไปกับผิวของเสื้อผ้า ในเรื่องการทนต่อการซักล้างถือว่าอยู่ในระดับดีเยี่ยม
ข้อจำกัด โพลีเฟล็กซ์ จะมีสีสัน ที่ตายตัว จะสามารถพิมพ์ได้เป็นสีแบบ solid color ตามสีของโพลีเฟล็กซ์ที่มี และไม่เหมาะกับงานที่มีลวดลายละเอียด หรือมีลวดลายซับซ้อน เนื่องจากความยุ่งยากในการทำไดคัท และการสกรีน
วิธีการนำมาใช้งาน
สามารถตัดตัดด้วยคัตเตอร์ หรือเครื่องตัดสติกเกอร์เป็นตัวอักษร ซึ่งการสกรีนแบบทรานเฟอร์ด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับการงานสกรีนตัวอักษรลงบนเสื้อ หรือลายกราฟิกที่มีขนาดใหญ่ๆ ไม่ยากเกินไปสำหรับการไดคัท แตกต่างกับประเภทงานแบบการพิมพ์ภาพลงเสื้อด้วยเครื่องพิมพ์แล้วนำไปกดหรือทรานเฟอร์ด้วยความร้อนซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับงานภาพถ่ายหรืองานกราฟิกไม่จำกัดสีเสียมากกว่า
ชนิดของแผ่นโพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex)
- โพลีเฟล็กซ์งานตัด – เป็นสีตาย (Solid Color) เป็นส่วนมาก แต่จะมีข้อเด่นที่เหนือกว่างานสกรีนลักษณะอื่นๆคือสามารถทำ ผิวสัมผัสพิเศษ เช่น เนื้อโลหะ เนื้อกำมะหยี่ กากเพชร เพิ่มความโดดเด่นให้กับชิ้นงาน และเป็นลักษณะงานที่งานสกรีนลักษณะอื่นทำไม่ได้, เป็นสีพิเศษ เช่น สีสะท้อนแสง ที่สามารถสะท้อนแสงไฟได้, ความหนาแบบพิเศษ ทำให้มีลักษณะเป็นลายนูนสูงขี้นมาจากเนื้อผ้า
- โพลีเฟล็กซ์งานพิมพ์ – สามารถนำมาพิมพ์ด้วยหมึก Eco–Solvent ทำให้สามารถทำเป็นลวดลายหรือรูปต่างๆได้ตามต้องการ แล้วนำไปติดด้วยสติกกี้ ลอกแผ่นเฟล็กซ์มาวางบนเสื้อผ้า ก่อนทำการกดทับ
ที่มา: merchology.com