Shopping cart

      ด้วยไลฟ์สไตล์ชีวิตของคนรุ่นใหม่ การนอนดึกกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว ไหนจะต้องทำงาน ออกไปปาร์ตี้กับเพื่อน เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรีส์ อัปเดตโซเชียลมีเดีย และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายจนทำให้ลืมเวลานอน ซึ่งหลายๆ คนคงคิดว่าการนอนน้อยเพียงไม่กี่คืนคงไม่เป็นอะไร หรือนอนดึกแล้วชดเชยด้วยการตื่นสายแทนก็ได้ แต่จริงๆ แล้วผลเสียของพฤติกรรมนอนดึกอาจมีมากกว่าที่คิด 

       บทความนี้จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและผลลัพธ์ของพฤติกรรมนอนดึก พร้อมทั้งแนวทางการจัดการปัญหา

 

 

เช็กด่วน! รวมผลเสียจากพฤติกรรมนอนดึกที่ทุกคนควรรู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

ลักษณะแบบไหนที่เรียกว่านอนน้อย พร้อมแนะแต่ละช่วงวัยควรนอนเท่าไรดี

  • รวมสาเหตุที่ส่งผลให้นอนน้อย นอนดึก
  • ผลเสียของการนอนดึก
  • ไขข้อสงสัย นอนเช้าทุกวันจะตายไหม
  • วิธีจัดการพฤติกรรมนอนดึกให้อยู่หมัด

 

ลักษณะแบบไหนที่เรียกว่านอนน้อย พร้อมแนะแต่ละช่วงวัยควรนอนเท่าไรดี คนที่นอนน้อยจะมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้

  • ตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ไม่ปลอดโปร่ง ไม่อยากตื่น
  • มีอาการง่วงระหว่างวัน หาวตลอดเวลา
  • ไม่มีสมาธิ ใจลอย และหงุดหงิดง่าย
  • เผลอวูบหลับโดยไม่รู้ตัวเป็นเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
  • เมื่อมีโอกาสได้นอนจะหลับไปอย่างรวดเร็วภายใน 5 นาที

 

ในแต่ละช่วงวัยจะมีค่าเฉลี่ยชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกันไป ซึ่งถ้านอนไม่ถึงจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมก็จะเรียกว่าเป็นการนอนน้อยหรือนอนดึกเกินไปนั่นเอง โดยแต่ละวัยจะมีจำนวนชั่วโมงที่ควรนอนดังนี้

  • เด็กแรกเกิด 16-18 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 1 ปี 13-15 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 2 ปี 12-14 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 3-12 ปี 9-12 ชั่วโมง
  • วัยรุ่นอายุ 13-20 ปี 8-9 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่อายุ 20-65 ปี 7-8 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป 7 ชั่วโมง

 

 

รวมสาเหตุที่ส่งผลให้นอนน้อย นอนดึก

      หลายๆ คนคงจะทราบอยู่แล้วว่าผลเสียของการนอนดึกนั้นมีอยู่มากมาย แต่ไม่ว่าทำอย่างไรก็นอนให้เร็วขึ้นไม่ได้สักที ถ้าอย่างนั้นมาดูสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้นอนดึกกันดีกว่า

  • สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการนอน

       สภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างมากเกินไป มีเสียงดังรบกวน หรือมีความคับแคบเกินไป ก็ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ โดยเฉพาะคนเมืองที่มักจะมีปัญหาการนอนอยู่บ่อยๆ เพราะต้องเผชิญกับแสงสว่างและเสียงรบกวนจากท้องถนนอยู่ตลอด รวมถึงการเปลี่ยนสถานที่นอนบ่อยๆ เกิดความไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมก็สามารถทำให้นอนหลับไม่สนิทได้

 

  • ความเครียด

      สาเหตุสำคัญของการนอนน้อยก็คือความเครียด ความกดดัน หรือมีอาการซึมเศร้า เมื่ออาการเชิงลบเหล่านี้สะสมมากๆ เข้าก็จะรบกวนการนอนหลับ ทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่

 

  • นิสัยชอบใช้เวลาตอนกลางคืน

ด้วยไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ชอบใช้เวลาตอนกลางคืนทำกิจกรรมต่างๆ จนเกิดเป็น Revenge Bedtime ซึ่งเป็นพฤติกรรมการนอนดึกเพื่อชดเชยเวลากลางวันที่ยุ่งจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น จึงหันมานอนดึกเพื่อทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบได้นั่นเอง บางครั้งอาจทำกิจกรรมเพลินจนลืมเวลานอน และส่งผลเสียต่อคุณภาพการนอนได้

 

  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์

อย่างที่รู้กันว่าคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นร่างกายและยับยั้งความง่วงนอนได้ ส่วนแอลกอฮอล์นั้นจริงๆ แล้วสามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าหากดื่มมากเกินไปก็จะเป็นการกระตุ้นร่างกายด้วยเช่นกัน ฉะนั้นเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไปในช่วงใกล้เวลานอนแล้วล่ะก็ จะส่งผลทำให้นอนไม่หลับ หรือทำให้หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อยๆ นั่นเอง

 

ผลเสียของพฤติกรรมนอนดึก

      เพราะการนอนคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง และยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับการฟื้นฟูซ่อมแซมอีกด้วย ซึ่งถ้าหากคุณภาพการนอนไม่ดีหรือนอนดึกบ่อยๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้ มาดูผลเสียของพฤติกรรมนอนดึกซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลายชนิด เช่น 

  • โรคอ้วน เพราะการนอนดึกจะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานนานขึ้น ส่งผลให้รู้สึกอยากทานอาหารเพิ่มขึ้นในช่วงกลางคืน ร่างกายจึงได้รับไขมันส่วนเกินและสะสมจนเกิดเป็นโรคอ้วนได้นั่นเอง
  • โรคเบาหวาน เพราะพฤติกรรมนอนดึกส่งผลต่อระบบเผาผลาญน้ำตาลในเลือด คนนอนดึกจึงมักจะทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง โดยเฉพาะเมื่อนอนดึกตื่นสายจนไม่ได้ทานอาหารเช้าแล้วล่ะก็ จะยิ่งอยากทานของหวานเพื่อเพิ่มน้ำตาลในร่างกายมากขึ้นไปอีก จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ปกติแล้วถ้านอนและตื่นเวลาไหนบ่อยๆ ร่างกายก็จะจดจำและตื่นเวลานั้นได้เองโดยธรรมชาติ ทำให้สารโปรตีนในร่างกายส่งไปที่หัวใจได้ตามปกติ แต่ถ้าหากวันไหนคุณอยากจะนอนดึกตื่นสายล่ะก็ สารโปรตีนจะไปเกาะสะสมที่หลอดเลือดหัวใจ หากสะสมนานๆ จะทำให้มีความดันเลือดสูงและเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ะบบต่างๆ ในร่างกายทำงานแย่ลง เพราะการนอนดึกจะไปรบกวนการทำงานของระบบต่างๆ เช่น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นท้องผูก อาหารไม่ย่อย ปวดหัว อ่อนเพลีย ผมร่วง เป็นสิว ผิวพรรณหมองคล้ำ ถ้าหากนอนดึกอย่างต่อเนื่องก็สามารถกลายเป็นโรคเรื้อรังได้
  • อารมณ์แปรปรวน เมื่อนอนไม่เต็มอิ่ม เวลาตื่นเช้ามาจะรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ไม่อยากจะทำอะไร รับแรงกดดันหรือความเครียดได้น้อยลง พลอยทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดได้ง่ายตลอดทั้งวัน หรืออาจจะเป็นอาการงัวเงีย ง่วงซึมไปทั้งวัน ไม่มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมใดๆ ซึ่งถ้าปล่อยให้นอนน้อยแบบ
  • สมาธิสั้น เบลอ เพราะสมองพักผ่อนได้ไม่เต็มที่จากการนอนน้อย ทำให้ประสิทธิภาพในการคิด การตัดสินใจ และการโฟกัสกับเรื่องต่างๆ ลดลง หากนอนน้อยมากๆ สมองบางส่วนอาจหยุดทำงานไปสั้นๆ ชั่วคราวจนเกิดอาการหลับใน ซึ่งอันตรายมากหากเกิดขึ้นในตอนที่กำลังขับรถหรือตอนทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวัง

 

ไขข้อสงสัย นอนเช้าทุกวันจะตายไหม

       มาถึงคำถามที่หลายๆ คนมักสงสัยกันว่านอนเช้าทุกวันจะตายไหม มีความเสี่ยงมากน้อยอย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้วการนอนเช้าทุกวันนั่นก็หมายถึงการนอนน้อยทุกวันนั่นเอง ไม่ว่าจะนอนดึกหรือนอนเช้าจะทำให้นาฬิกาชีวิตรวนและส่งผลเสียต่อร่างกายเหมือนกัน ซึ่งมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Warwick ที่กล่าวว่าการนอนที่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงในแต่ละคืนนั้น มีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 12% 

      แต่ถ้าใครกำลังคิดว่าการนอนน้อยบ่อยๆ จะทำให้ตายเร็วแล้ว ถ้าอย่างนั้นหันมานอนเยอะๆ ดีกว่า จะได้ไม่ต้องตายเร็ว คงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะมีงานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่กล่าวว่าการนอนที่มากเกิน 9 ชั่วโมง ก็มีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 30% การนอนที่ยาวนานก็อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งบางชนิด โรคซึมเศร้า และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน หรือที่เรียกกันว่าไหลตายด้วย

 

 

วิธีจัดการพฤติกรรมนอนดึกให้อยู่หมัด

       มาถึงตรงนี้คงพอเข้าใจแล้วว่าผลเสียของพฤติกรรมนอนดึกนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นการนอนในจำนวนเวลาที่พอเหมาะพอดีกับช่วงอายุจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับร่างกาย ใครที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน สามารถใช้วิธีปรับเวลานอน หรือหาวิธีทำให้นอนหลับง่ายอย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง โดยมีวิธีการดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน แอลกอฮอล์ รวมไปถึงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงในช่วงก่อนเข้านอน
  • ปรับบรรยากาศห้องนอนให้เหมาะสมแก่การนอนหลับ เช่น มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีแสงสว่างหรือมีแสงสลัวๆ และเงียบสงบ
  • เลือกอุปกรณ์การนอนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะที่นอน ผ้าห่ม หมอน หมอนข้าง รวมถึงอุปกรณ์ช่วยเรื่องการนอนอย่างผ้าปิดตาหรือที่อุดหู
  • ทำกิจกรรมเบาๆ ก่อนเข้านอน เช่น นวดเบาๆ ฟังเพลงสบายๆ อาบน้ำอุ่น
  • งดเล่นคอมพิวเตอร์และเครื่องสื่อสารทุกชนิดก่อนนอน เพื่อหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าจากจอที่อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ
  • หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน ถ้าหากต้องการนอนกลางวันเพื่อพักผ่อนควรงีบสั้นๆ 10-15 นาที 
  • นอนหลับให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายจดจำเวลานอนและเตรียมเข้าสู่โหมดพักผ่อนก่อนนอน ซึ่งจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นพร้อมกับตื่นเช้ามาด้วยความสดชื่น 
  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาที่เหมาะสม และไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ ก่อนเข้านอน เพราะจะเป็นการกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว

      ปัญหานอนดึกมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่ดี มีความเครียดสะสม พฤติกรรมที่ชอบใช้ชีวิตตอนกลางคืน รวมไปถึงการทานอาหารอย่างเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นอนดึก โดยผลเสียมีทั้งทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ อารมณ์แปรปรวน และไม่มีสมาธิทำการทำกิจกรรมใดๆ อีกด้วย 

      ซึ่งปัญหานอนดึกสามารถแก้ไขได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายและออกกำลังกายสม่ำเสมอ 

 

ที่มา: thestreetratchada.com

ใส่ความเห็น

ธันวาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  
X